ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต เป็นโรงเรียนรัฐบาลประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 (ปทุมธานี สระบุรี) (สังกัดเดิมคือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1) สหวิทยาเขตสวนเทพรัตน์ทีปไท้ ตั้งอยู่เลขที่ 2/617 หมู่บ้านศุภาลัยบุรี ตำบลคลองสี่ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี และเป็นโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย ลำดับที่ 5 ปัจจุบัน มีเนื้อที่ 25 ไร่ 2 งาน 86.8 ตารางวา ประกอบด้วยอาคารเรียน 3 หลัง อาคารประกอบ 1 หลัง เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายแบบสหศึกษา มีการจัดชั้นเรียนแบบ 14-14-14/14-14-14

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต เป็นโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 4 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ภายในหมู่บ้านศุภาลัยบุรี ตำบล คลองสี่ อำเภอ คลองหลวง จังหวัด ปทุมธานี โดยในปี 2534 คุณประทีป ตั้งมติธรรม ศิษย์เก่าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ประธานกรรมการบริหารบริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) มอบที่ดินจำนวน 15 ไร่ ภายในหมู่บ้านศุภาลัยบุรี เพื่อจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาในเครือโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และเป็นโรงเรียนในโครงการจุดสกัดเขตปริมณฑล กรุงเทพมหานคร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการลงนามประกาศจัดตั้งโรงเรียน เมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2536 และแต่งตั้งให้ นายวีระ กาญจนะรังสิตา มาปฏิบัติหน้าที่ผู้บริหารโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต

ในปีการศึกษา 2536 – 2538 ได้รับความอนุเคราะห์ จากบริษัท ศุภาลัย จำกัด ให้ใช้อาคารพาณิชย์ 4 ชั้น ภายในหมู่บ้านศุภาลัยบุรี เป็นสถานที่เรียนชั่วคราว

ปีการศึกษา 2537 กรมสามัญศึกษาได้อนุมัติให้สร้างอาคารเรียนแบบพิเศษ 9 ชั้น งบประมาณ 83,000,000 บาท ซึ่ง บริษัท 21 ก่อสร้าง เป็นผู้ประกวดราคาก่อสร้าง ได้ ในวงเงิน 69,450,000 บาทโรงเรียนได้ขออนุญาตเปลี่ยนแปลงแบบ อาคารเรียนแบบพิเศษ 9 ชั้น บางส่วน เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ได้แก่ ห้องสมุด ห้องพยาบาล โดยใช้เงินชมรมผู้ปกครองและครูสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต สมทบอีก 560,000 บาท รวมเป็นค่าก่อสร้าง 70,010,000 บาท

ปีการศึกษา 2539 เข้าใช้อาคารเรียนแบบพิเศษ 9 ชั้น และ ปีการศึกษา 2540 ได้จัดทำรั้วคอนกรีต ประตูโรงเรียน จัดทำป้ายชื่อโรงเรียน สร้างเสาธงชาติ เสาธงโรงเรียนและถนนคอนกรีตภายในโรงเรียน สร้างสนามบาสเกตบอล สนามฟุตบอล โดยไม่ได้ใช้งบประมาณจากทางราชการ นอกจากนี้ยังได้ระดมทรัพยากรจากชุมชน ในการจัดทำห้องศูนย์วิชาต่างๆ เช่น ศูนย์ภาษาไทย ศูนย์สังคมศึกษา ศูนย์คณิตศาสตร์ ศูนย์การงานและอาชีพ และ ห้องพิเศษอื่นๆ เช่น ห้องนาฏศิลป์ ห้องจริยธรรม ห้องปฏิบัติการ ฟิสิกส์ เคมี และ ชีววิทยา ห้องโสตทัศนศึกษา ห้องพยาบาล ห้องแนะแนว ห้องปฏิบัติการทางภาษาต่างประเทศ ห้องพิมพ์ดีด ฯลฯ

ปีการศึกษา 2541 โรงเรียนร่วมกับโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัยสมุทรปราการ และ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัยปทุมธานี ขออนุญาตจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย หล่อพระพุทธรูป “หลวงพ่อสวนกุหลาบ” ขนาดหน้าตักกว้าง 49 นิ้ว เพื่อประดิษฐานเป็นพระพุทธรูปประจำโรงเรียน โดยจำลองจากหลวงพ่อสวนกุหลาบ ปางมารวิชัย ศิลปะสมัยเชียงแสน ขนาดหน้าตัก 12 นิ้ว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างและพระราชทาน ให้เป็นพระพุทธรูปประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

ปีการศึกษา 2542 ได้อันเชิญ หลวงพ่อสวนกุหลาบ ประดิษฐานที่หอพระในโรงเรียน โดย ดร. โกวิทย์ วรพิพัฒน์ อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธี และชมรมผู้ปกครองและครูสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต ได้มอบรถบัสปรับอากาศขนาด 46 ที่นั่ง จำนวน 1 คัน.ในปีนี้ กรมสามัญศึกษา ได้อนุมัติงบประมาณสร้างอาคารอเนกประสงค์ แบบพิเศษ 4 ชั้น วงเงิน 29,000,000 บาท บริษัท เจบราเดอร์ เป็นผู้ประกวดราคาก่อสร้างได้ในวงเงิน 21,500,000 บาท สร้างเสร็จในปลายเดือน มิ.ย. 2543

ปีการศึกษา 2544 โรงเรียนได้ขออนุญาตกรมศิลปากรและได้รับอนุญาตให้จัดสร้างพระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขนาดเท่าครึ่งของพระองค์จริง ฉลองพระองค์ในชุดจอมทัพไทย พระหัตถ์ซ้ายทรงกระบี่ พระหัตถ์ขวาทรงคฑาขึ้น และหล่อที่โรงหล่อของกรมศิลปากร อ.ศาลายา จ.นครปฐม แต่ใช้รูปแบบเดียวกับที่สร้าง ณ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ใช้เวลารวมทั้งสิ้นประมาณ 2 ปี โดยมีงบประมาณค่าก่อสร้างฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ เป็นเงิน 300,000 บาท และค่าหล่อพระบรมรูป เป็นเงิน 800,000 บาท

ปีการศึกษา 2546 โรงเรียน ร่วมกับสมาคมผู้ปกครองและครูสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต ได้ระดมทรัพยากรจัดซื้อที่ดิน ด้านหน้าโรงเรียน จำนวน 1 ไร่ 1 งาน 27.3 ตารางวา จากบริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) สำหรับเป็นที่ทำกิจกรรมกลางแจ้งของนักเรียน

กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุมัติให้เปิดทำการสอนหลักสูตรห้องเรียนพิเศษ 2 หลักสูตร คือ โครงการความเป็นเลิศทางวิชาการ ( Gifted Education Program : GEP ) และ โครงการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ (Mini English Program : MEP)

ในวันอังคารที่ 9 ก.ย. 2546 โรงเรียนได้ทำการอัญเชิญ พระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นประดิษฐานยังพระบรมราชานุสาวรีย์

วันที่ 30 ก.ย. 2546 นายวีระ กาญจนะรังสิตา ผู้อำนวยการโรงเรียน เกษียณอายุราชการ กรมสามัญศึกษา ได้แต่งตั้งให้ นายสุรศักดิ์ สว่างแสง มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ตั้งแต่ วันที่ 4 พ.ย. 2546

ปีการศึกษา 2547 โรงเรียนร่วมกับสมาคมผู้ปกครองและครูสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต และคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ระดมทรัพยากรจัดซื้อที่ดินเป็น ครั้งที่ 2 บริเวณด้านทิศเหนือติดสนามฟุตบอล จำนวน 1 ไร่ 1 งาน 55.5 ตารางวา จากบริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน)

ปีการศึกษา 2548 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1 มีคำสั่งแต่งตั้งให้ นายพีระ ชัยศิริ มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน แทน นายสุรศักดิ์ สว่างแสง เดินทางมาปฏิบัติหน้าที่ วันที่ 16 ก.พ. 2549

ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนร่วมกับสมาคมผู้ปกครองและครูสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต และคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ระดมทรัพยากรจัดซื้อที่ดินเป็น ครั้งที่ 3 บริเวณด้านทิศใต้ จำนวน 4 ไร่ 3 งาน 75.4 ตารางวา เป็นเงิน 6,617,590 บาท เมื่อ วันที่ 8 ก.พ. 2550

ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนร่วมกับสมาคมผู้ปกครองและครูสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต คณะกรรมการสถานศึกษาและคณะกรรมการผู้ปกครองเครือข่าย ได้ดำเนินการดังนี้

จัดซื้อที่ดิน ด้านทิศใต้ของโรงเรียน เพิ่มเติม จำนวน 1 ไร่ 1 งาน 38 ตารางวา เป็นเงิน 1,802,300 บาท เมื่อ วันที่ 14 ก.พ. 2551 จัดสร้างทางเชื่อม 4 ชั้น ระหว่างอาคารสิรินธร 1 และ อาคารสิรินธร 2 จำนวนเงิน 1,500,000 บาท เสร็จสิ้นและทำพิธีเปิดใช้งาน เมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2551

ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนร่วมกับสมาคมผู้ปกครองและครูสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต คณะกรรมการสถานศึกษาและคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง ได้จัดซื้อที่ดิน ด้านทิศใต้ของโรงเรียน เพิ่มเติม จำนวน 3 งาน 59 ตารางวา เป็นเงิน 1,202,650 บาท และ สมาคมผู้ปกครองและครูฯ รับโอนที่ดินภาระจำยอมและมอบพื้นที่ให้โรงเรียนใช้ประโยชน์ 6 แปลง จำนวน 3 งาน 31.6 ตารางวา รวมพื้นที่ที่ดินทั้งสิ้น 25 ไร่ 2 งาน 86.8 ตารางวา

ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนร่วมกับสมาคมผู้ปกครองและครูสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต คณะกรรมการสถานศึกษาและคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง ได้ระดมทรัพยากรจัดสร้างโดมหลังคาบริเวณสนามบาสเกตบอล งบประมาณ 2,010,000 บาท

โรงเรียนได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน 1 หลัง (แบบ 324 ล) วงเงิน 22,220,000 บาท จากกระทรวงศึกษาธิการ บริษัทราฤธานี เป็นผู้ชนะการประมูลในการก่อสร้าง

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1 มีคำสั่งแต่งตั้งให้ น.ส.สุภาวดี วงษ์สกุล มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต แทนนายพีระ ชัยศิริ และมาปฏิบัติหน้าที่ เมื่อวันที่ 18 ม.ค. พ.ศ. 2553

ปีการศึกษา 2554 เข้าใช้อาคารเรียน แบบ 324 ล จัดการเรียนการสอน ได้รับงบประมาณก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก งบประมาณ 946,000 บาท ห้างหุ้นส่วน จำกัด ฐ.ปฐมพร เป็นผู้ชนะการสอบราคาก่อสร้าง วงเงิน 914,000 บาท สร้างห้องเรียนไฮเทค 3 ห้องและห้อง 3D เป็นเงิน 9,392,878 บาท

เกิดมหาอุทกภัยน้ำท่วมใหญ่ โรงเรียน ตั้งแต่วันที่ 22 ต.ค. 2554 ถึง 12 ธ.ค. 2554 ระดับน้ำสูง 1.5 เมตร ห้องสำนักงานฝ่ายบริหาร เสียหายทั้งหมด และกระทรวงศึกษาธิการ จัดงบซ่อมแซม ปรับปรุง อาคารเรียนที่ประสบอุทกภัย จำนวน 9,069,000 บาท

ก่อสร้างทางเชื่อมอาคารเรียน ระหว่างอาคารสิรินธร 2 กับอาคารสิริธร 3 งบประมาณ 3,360,000 บาท โดยใช้งบประมาณของ ส.ส. พรพิมล ธรรมสาร

ปีการศึกษา 2556 ได้รับงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี จำนวน 25,000,000 บาท เพื่อก่อสร้างอาคารกิจกรรมและอัฒจรรย์เชียร์กีฬาคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด 2 ชั้น ตามแบบองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ปรับปรุงห้องศูนย์วิชาทุกศูนย์ สร้างห้องปฏิบัติการชีววิทยา ฟิสิกส์ บ้านพักลูกจ้างประจำ สนามบาสเกตบอล โรงจอดรถ 12 ที่ อีกทั้งยังได้รับงบประมาณในการก่อสร้างบ้านพักนักกีฬาโครงการช้างเผือกของโรงเรียนหลังใหม่

ปีการศึกษา 2557 จัดสร้างหอพระหลวงพ่อสวนกุหลาบ ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ปรับปรุงสนามกีฬาพร้อมลู่วิ่งมาตรฐานและบ่อบำบัดน้ำเสีย

ปีการศึกษา 2558 ปรับปรุงห้องสมุด(เดิม)เป็นห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ปรับปรุงและต่อเติมหอประชุมชั้น 4 อาคารสิรินธร 2

ตราประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต นั้นเป็นรูปหนังสือมีไม้บรรทัดดินสอปากกาคั่น หน้าปกหนังสือมีตราพระเกี้ยว และอักษรย่อ จ.ป.ร. ด้านขวามีช่อดอกกุหลาบ มุมซ้ายล่างมีริบบิ้นผูกช่อดอกกุหลาบ ซึ่งมีตัวหนังสือกำกับว่า โรงเรียนหลวงสวนกุหลาบ ด้านบนปรากฏมีปรัชญาและคติพจน์ สุวิชาโน ภวํ โหติ ด้านล่างมีคำแปลว่า ผู้รู้ดี เป็นผู้เจริญ

คำร้อง หม่อมราชวงศ์เลื่อน สิงหราผู้เรียบเรียง สุวัฒน์ เทียมหงษ์ทำนอง เพลงแขกต่อยหม้อ อัตราสองชั้นขับร้อง อนุชา ก้องมณีรัตน์เนื้อร้อง บรรดาเรา เหล่านักเรียน สวนกุหลาบ ย่อมปลื้มปลาบ ปรีดิ์เปรม เกษมศรี ล้วนรักเกียรติ รักนาม รักความดี รักโรงเรียน ซึ่งเป็นที่ อวยวิชา อันพระพุทธ ภาษิต ประดิษฐ์ไว้ เราต่างได้ ใช้เป็นหลัก นานหนักหนา เป็นข้อควรดำริ"สุวิชา โน ภวํ โหติ" ตรา ไว้เป็นครู แปลความว่า ธีรชน คนฉลาด ย่อมสามารถ ให้เจริญ ดำเนินอยู่ ให้ฟุ้งเฟื่อง เรืองวิชา น่าเชิดชู การกีฬา ก็ดำริ สถาพร ฉะนั้นเรา ทั่วหน้า ควรปราโมทย์ เพื่อประโยชน์ภิญโญ สโมสร จงพร้อมพร้อง พจนารถ ประสาทพร สวนกุหลาบ สถาวร ชโยเอย

เพลงมาร์ชประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต คือ มาร์ชโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (มาร์ชมพู-ฟ้า)คำร้อง ไม่ทราบนามผู้แต่งผู้เรียบเรียง สมศักดิ์ มหาสวัสดิ์ทำนอง สุธน ชูวงศ์ผู้ขับร้อง ขับร้องหมู่เนื้อร้อง สีงามอร่ามหรู ชมพูฟ้า งามยั่วยวนชวนประชาให้เห็นเด่น งามจริงยิ่งเห็น เป็น โชคชัย เรานี้ควรสงวนเกียรติ ใครหยามเหยียดมิยอมให้ เรามุ่งหวัง กำลังใจ เชียร์เอาชัย ไม่หวั่นหวาด เพื่อพวกเรา เหล่านักเรียน สวนกุหลาบ ใจมั่นคง ซื่อตรงองอาจ ไม่ยอมขลาด หวาดผู้ใด

วิสัยทัศน์ของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต คือ เป็นสถาบันชั้นนำ เลิศล้ำวิชาการ สื่อสารหลายภาษา ก้าวหน้าเทคโนโลยี พัฒนาคนดีสู่วิถีพลโลก

SKR สุภาพบุรุษ-สุภาพสตรี สวนกุหลาบฯ รังสิต มีความเป็นผู้นำ ที่ฉลาดหลักแหลม กระตือรือร้น และมีความรับผิดชอบ

S = SMART  : สุภาพบุรุษ – สุภาพสตรีสวนกุหลาบฯ รังสิต มีความเป็นผู้นำ K = Keen  : ที่ฉลาดหลักแหลม กระตือรือร้น R = Responsibility : และมีความรับผิดชอบ

1. ปลูกฝังให้ผู้เรียน มีความสามัคคีในหมู่คณะ รักและเชิดชูเกียรติภูมิแห่งสถาบัน มีบุคลิกภาพ ความเป็นผู้นำและมีค่านิยมที่พึงประสงค์

2. ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการระดับชาติ ระดับนานาชาติ และสามารถสื่อสารได้อย่างน้อย 2 ภาษา

3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นแบบอย่างที่ดีในสังคม มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และรับผิดชอบต่อสังคมโลก

4. พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถในการอ่าน เขียน คิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ มีวิสัยทัศน์ ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ สามารถสร้างองค์ความรู้เพื่อบูรณาการในการพัฒนา ตนเอง พัฒนางานและศึกษาต่อในสถาบันระดับอุดมศึกษา

5. มุ่งเน้นให้ผู้เรียนทุกคนมีทักษะและศักยภาพในการใช้คอมพิวเตอร์ สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการแสวงหาและสร้างองค์ความรู้เต็มตามศักยภาพ

6. ส่งเสริมและพัฒนาครูให้มีความรู้ ความสามารถ ในวิชาชีพครูและเป็นครูมืออาชีพ เทียบเคียงกับมาตรฐานสากล

7. บริหารจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อทำงานและการ บริการ มุ่งเน้นให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วม มีการกำกับติดตามและตรวจสอบคุณภาพการบริหารจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

1. มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ สื่อสารได้อย่างน้อยสองภาษา ล้ำหน้าทางความคิด ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ และร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก

2. มุ่งพัฒนานักเรียนให้เป็นคนดี มีค่านิยมที่ดีงาม เป็นผู้นำ เป็นที่ยอมรับ ใช้ชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข

4. มุ่งพัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาด้วยระบบคุณภาพตามกรอบเกณฑ์คุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากลและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษา

5. โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต ผ่านการประเมินเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล ภายในปีการศึกษา 2554

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิตทำการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย มีการจัดชั้นเรียนแบบ 14-14-14/14-14-14 (ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 14 ห้องเรียน และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ชั้นละ 14 ห้องเรียน) แบ่งเป็น 2 ระดับชั้น ดังนี้

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีทั้งหมด 15 ห้องเรียน ซึ่งจะมีการแยกเป็นแผนการเรียนต่างๆ ได้แก่

โครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ เป็นภาษาอังกฤษ หรือเรียกว่า EP ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และ MEP ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้เปิดการเรียนการสอนครั้งแรกในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในปี พ.ศ. 2546 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในปี พ.ศ. 2549 โดยได้มีการสอนในรายวิชาหลักต่างๆเป็นภาษาอังกฤษและมีครูต่างประเทศเป็นผู้สอน โดยในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจะมีการแบ่งเป็นห้องเน้นคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ ห้องเน้นคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ มีห้องเรียนมาตรฐานติดเครื่องปรับอากาศ และตู้เก็บของของนักเรียนแต่ละคนโดยเฉพาะ นอกจากนี้โรงเรียนได้จัดกิจกรรมเฉพาะห้องเรียน EP และสนับสนุนการแข่งขันที่เกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษ ห้องเรียน EP อยู่ในความรับผิดชอบของโครงการห้องเรียนพิเศษ

โครงการส่งเสริมความสามารถทางวิชาการด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือเรียกว่า GEP ได้เปิดการเรียนการสอนเป็นครั้งแรกในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในปี พ.ศ. 2546 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในปี พ.ศ. 2549 โดยจัดการเรียนการสอนในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์แบบเข้มข้นและเพิ่มวิชาภาษาอังกฤษสำหรับการค้นคว้า มีห้องเรียนมาตรฐานติดเครื่องปรับอากาศ ซึ่งในช่วง ซึ่งปัจจุบันได้มีการงดการเข้าค่ายของทุกระดับชั้นซึ่งแต่ก่อนจะจัดเทอมล่ะ 1-2 ครั้ง(ทุกระดับชั้น)

หลักสูตรห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตามแนวทางของ สสวท. และมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณีวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) ซึ่งมีปรัชญาและวัตถุประสงค์การจัดการศึกษา คือ จัดการศึกษาแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อให้ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพเป็นรายบุคคล เน้นทักษะการคิดระดับสูง ด้านกระบวนการแก้ปัญหา การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดสร้างสรรค์ โดยให้มีความสามารถในการสืบเสาะหาความรู้ได้ด้วยตนเองอย่างเป็นระบบ และมีคุณธรรมจริยธรรม โดยโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต เป็นหนึ่งใน 175 โรงเรียนทั่วประเทศที่เปิดสอนหลักสูตรตามโครงการฯ

โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยเป็นโครงการที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในฐานะเป็นองค์การหลักด้านการพัฒนากำลังคน ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศได้ริเริ่มขึ้น โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิตเป็นหนึ่งในโรงเรียนในโครงการฯ ดังกล่าว ภายใต้การกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต นักเรียนในโครงการดังกล่าวมาจากการสอบทั่วประเทศ มีการจัดกิจกรรมการเรียนและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเต็มที่สามารถใช้ห้องปฏิการคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตได้ นักเรียนจะได้รับทุนการศึกษาเต็มรูปแบบเช่น การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเรียน อุปกรณ์การเรียน เครื่องแบบนักเรียน ที่พัก กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตลอดจนค่าใช้จ่ายประจำเดือนจากโครงการฯ จนจบหลักสูตร

เป็นอาคาร 9 ชั้น ก่อสร้างในปี พ.ศ. 2537 โดยได้รับการอนุมัติจากกรมสามัญศึกษาเพื่อให้สร้างอาคารเรียนแบบพิเศษ 9 ชั้น โดยใช้งบประมาณ 69 ล้านบาท แต่โรงเรียนก็ได้ขอเปลี่ยนแปลงแบบบางส่วนเพื่อประโยชน์การใช้สอยและการเรียนการสอน โดยใช้เงินชมรมผู้ปกครองและครูสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต สมทบจำนวนหนึ่ง รวมเป็นเงินค่าก่อสร้างประมาณ 70 ล้านบาท ภายในอาคารเรียนมีห้องเรียนและ ห้องพิเศษรวม 94 ห้อง ลิฟท์ 4 ตัว ซึ่งได้รับพระราชทานนามอาคารเรียนจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ว่า สิรินธร 1 และโรงเรียนเข้าใช้งานอาคารในปี พ.ศ. 2539 โดยอาคารสิรินธร 1 ประกอบด้วยห้องเรียนและหน่วยงานต่างๆดังนี้

เป็นอาคารอเนกประสงค์ 4 ชั้น ก่อสร้างในปี พ.ศ. 2541 และเสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2543 โดยได้รับงบประมาณก่อสร้างจำนวน 29 ล้านบาท มีบริษัท เจ บราเดอร์ เป็นผู้ประกวดราคาก่อสร้างได้ในวงเงิน 21.5 ล้านบาท และได้รับพระราชทานนามอาคารเรียนจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ว่า สิรินธร 2 ประกอบด้วยห้องต่างๆดังนี้

เป็นอาคารเรียน 4 ชั้น แบบ 324ล.(ตอกเข็ม) ใต้ถุนโล่งก่อสร้างในปี พ.ศ. 2552 โดยได้รับงบประมาณก่อสร้างจำนวน 22 ล้านบาท เสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2554 โรงเรียนเข้าใช้งานอาคารในปี พ.ศ. 2554 และได้รับพระราชทานนามอาคารเรียนจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ว่า สิรินธร 3 ใช้เป็นห้องเรียนประจำในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-2 กลุ่มห้องปกติ และในปัจจุบันชั้น 1 อาคารสิรินธร 3 แต่เดิมเป็นใต้ถุนโล่งและเป็นพื้นที่จัดกิจกรรมของนักเรียนได้มีการดำเนินก่อสร้างห้องสำนักงานของโรงเรียนแห่งใหม่ ตามแผนฟื้นฟูของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในการช่วยเหลือโรงเรียนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์มหาอุทกภัย พ.ศ. 2554 ห้องสำคัญในอาคารสิรินธร3

อาคารกิจกรรมและอัฒจรรย์เชียร์กีฬา ได้รับงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานีและเริ่มก่อสร้างในปีการศึกษา 2556 เป็นจำนวนเงิน 25 ล้านบาท เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด 2 ชั้นพร้อมอัฒจรรย์ สร้างขึ้นบริเวณทิศตะวันตกของสนามฟุตบอลในพื้นที่บ้านพักนักกีฬาหลังเก่าที่ได้ถูกรื้อถอนออกไป เริ่มเข้าใช้งานในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โดยมีห้องสำคัญในอาคารดังนี้

ตั้งอยู่บริเวณหน้าประตูทางเข้าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต ได้ประกอบพิธีหล่อเมื่อเดือน กรกฎาคม 2540 เป็นพระพุทธรูปขนาดหน้าตัก 49 นิ้ว และ ได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกและเบิกเนตรหลวงพ่อสวนกุหลาบ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2541 โดยพระสุเมธาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี เป็นประธานสงฆ์พร้อมด้วยเกจิอาจารย์รวม 5 รูป คือ พระสุเมธาภรณ์ วัดมูลจินดาราม พระครูวิเศษนากิจ วัดสายไหม พระครูปทุมกิจโกศล วัดสว่างภพ พระครูสาธรพฒนกิจ วัดเสด็จ พระครูวิบูลย์พัฒนคุณ วัดประชุมราษฎ์ พระภิกษุสงฆ์สวดในพิธีอีก 4 รูป เป็นพระเกจิอาจารย์จากวัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหานคร |เมื่อก่อสร้างหอพระเสร็จเรียบร้อยจึงได้อัญเชิญ หลวงพ่อสวนกุหลาบมาประดิษฐาน ณ หอพระพุทธรูป เมือวันที่ 5 สิงหาคม 2542 โดยมีนายโกวิทย์ วรพัฒน์ อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานในพิธี

ในปีการศึกษา 2556 นี้ทางโรงเรียนได้ทำการก่อสร้างหอพระพุทธรูปหลวงพ่อสวนกุหลาบแห่งใหม่ โดยห่างจากตำแหน่งที่ตั้งเดิมไปทางด้านหลังประมาณ 20 เมตร เพื่อแก้ปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณหน้าโงเรียน โดยได้ดำเนินการก่อสร้างเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด2ชั้น เป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ หลังคา 3 ชั้น 2 ชาย ยอดประดับด้วยฉัตรทองคำ และได้ทำพิธีมหาพุทธาภิเษกเพื่อประดิษฐานหลวงพ่อสวนกุหลาบในหอประดิษฐานหลังใหม่เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2558 โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์(สนิท ชวนปญฺโญ ป.ธ.9)เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก เจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม ประธานจุดเทียนชัย พร้อมพระราชาคณะชั้นพรหม 4 รูป พระราชาคณะชั้นธรรม 4 รูป พระราชาคณะชั้นเทพ 4 รูป พระคณาจารย์ผู้เฒ่า 4 รูป พระคณาจารย์วัดพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ 4 วัด พระคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ 8 ทิศ พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ เจริญพระพุทธมนต์ธรรมจักรกัปปวัฒนสูตร 10 รูป พระพิธีธรรมสวดคาถามหาพุทธภิเษก 4 รูป ซึ่งบริเวณใต้ถุนด้านล่างหอประดิษฐานพระพุทธรูปหลวงพ่อสวนกุหลาบ ได้ใช้พื้นที่เปนห้องต่างๆดังนี้

ได้อัญเชิญพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นประดิษฐานยังฐานพระบรมราชาอนุสาวรีย์เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2546 พระบรมราชาอนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีขนาดเท่าครึ่งพระองค์จริง ทรงฉลองชุดจอมทัพไทย ทรงพระมาลา พระหัตถ์ซ้ายทรงกระบี่ พระหัตถ์ขวาทรงคฑา กรมศิลปากรเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้สร้าง ณ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยดำเนินการสร้างเป็นเวลา2ปีเศษ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544-2546 งบประมาณในการก่อสร้างแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ใช้เป็นค่าก่อสร้างฐานพระบรมราชาอนุสาวรีย์จำนวนเงิน 300,000 บาท ส่วนที่ 2 ใช้เป็นค่าหล่อพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวนเงินประมาณ 800,000 บาท

เป็นสนามฟุตบอลของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต ซึ่งเป็นสนามฟุตบอลขนาดมาตรฐาน เริ่มแรกนั้นสร้างขึ้นขณะเริ่มก่อสร้างโรงเรียน ใช้เป็นสนามฝึกซ้อม ออกกำลังกาย แข่งขันกีฬาภายใน กีฬาประเพณีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และเป็นสนามในการแข่งขันฟุตบอล SKR Leauge ซึ่งซึ่งในปี พ.ศ. 2557 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิตได้มีการดำเนินการปรับปรุงสนามฟุตบอลใหม่ทั้งหมด มีการปรับพื้นสนามใหม่และสร้างลู่วิ่งขนาดมาตรฐาน 5 ลู่วิ่ง ซึ่งก็ได้มีพิธีเปิดสนามกีฬา "SKR STADIUM" ไปเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2558 โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานีเป็นประธาน

ตั้งอยู่ระหว่างอาคารสิรินธร 1 และอาคารสิรินธร 3 แต่เดิมเป็นเพียงแค่สนามบาสเก็ตบอล ในปีพ.ศ. 2551 (สมัยผอ.พีระ ชัยศิริ) ได้ทำการสร้างหลังคาคลุมพื้นที่ทั้งหมด และในปีพ.ศ. 2555ได้ทำการปรับปรุงยกระดับพื้นที่ให้เท่ากับพื้นอาคาร ชั้น 1 ของทั้ง 3 อาคาร อาคารโดมเอนกประสงค์ใช้ประโยชน์ในการจัดงานพิธีการสำคัญๆ เช่น งานวันเฉลิมพระเกียรติฯ 12 สิงหาคม และ 5 ธันวาคม , งานวันไหว้ครู , งานเปิดลานวิชาการบ้านสวนฯรังสิต เป็นต้น

เป็นลานที่ใช้จัดกิจกรรมกลางแจ้งของโรงเรียนและใช้ในการจัดพิธีการถวายบังคมถวายราชสักการะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเจ้าเกล้าอยู่หัวฯ รวมถึงกิจกรรมซุ้มเสมาต้อนรับน้องใหม่ในกิจกรรมปฐมนิเทศนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

อยู่ทางด้านทิศเหนือของอาคารสิรินธร 2 ใช้เป็นพื้นที่จัดกิจกรรมและเล่นกีฬา เช่น กิจกรรมสวนสนามของกองลูกเสือ-เนตรนารี สนามฝึกซ้อมของวงโยธวาทิต และนักกีฬาตะกร้อ รวมถึงใช้เป็นที่จอดรถผู้ปกครองที่มารอรับบุตรหลานของตน

ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของอาคารสิรินธร 3 ใช้เป็นที่จอดรถบุคลากรและได้ทำการก่อสร้างหลังคาคุมบังแดด ส่วนพื้นที่จอดรถบัสรับ-ส่งนักเรียนเป็นลานหินลูกรัง

เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด 2 ชั้น ตั้งอยู่บริเวณประตูโรงเรียนด้านทิศตะวันออก เยื้องไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของหอประดิษฐานพระพุทธรูปหลวงพ่อสวนกุหลาบ ก่อสร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2540-2541 โดยใช้เป็นที่ทำการของกลุ่มบริหารงานกิจการนักเรียน แต่ในปัจจุบันกลุมบริหารงานกิจการนักเรียนได้ย้ายไปอยู่ที่อาคารสิรินธร 3 แล้ว ปัจจุบันใช้เป็นเรือนพักสำหรับอาจารย์เวรที่ต้องประจำอยู่ที่โรงเรียน

เป็นอาคารคอนกรีตก่ออิฐฉาบปูนขนาด 1 ชั้น ตั้งอยู่บริเวณลานจอดรถบัสรับ-ส่งนักเรียนด้านทิศตะวันออกของโรงเรียน ส่วนหนึ่งของอาคารยกพื้นสูงกั้นเป็นห้องสำหรับให้นักการของโรงเรียนพัก อีกส่วนหนึ่งเทพื้นคอนกรีตหลังคาโครงเหล็กกั้นส่วนหนึ่งออกเป็นโรงช่างและห้องเก็บของ และอีกส่วนหน่งใช้สำหรับจอดรถที่ใช้ในราชการของโรงเรียน ซึ่งอาคารหลังนี้ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2556 โดยใช้งบประมาณของทางโรงเรียนในการก่อสร้าง เพื่อใช้แทนอาคารบ้านพักนักการหลังเก่าที่ถูกรื้อถอนไป

เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น สร้างทางด้านทิศเหนือของโรงเรียนโดยอาคารหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ใช้เป็นหอพักให้กับนักกีฬาโครงการช้างเผือกของโรงเรียน

เนื่องจากอาคารสิรินธร 2 ได้เปิดใช้งานมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2543 มีการเสื่อมโทรมของสภาพอาคารไปตามกาลเวลา ดร.สุภาวดี วงษ์สกุล ได้มีโครงการพัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์ของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง ในอาคารอีกมากมายเพื่อพัฒนาสถานที่แหล่งเรียนรู้ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น โดยปัจจุบันมีส่วนการปรับปรุงอยู่ 2 โครงการดังนี้

เนื่องจากปัจจุบันโรงเรียนเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต เป็นโรงเรียนยอดนิยมผู้ปกครองส่งบุตรหลานมาเรียนเป็นอย่างมาก อาคารเรียนจึงไม่เพียงพอเรียนการสอน จึงได้ของบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีราคากลางในการก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน 27 ล้านบาท เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กความสูง 4 ชั้นแบบ324ล.(ตอกเข็ม) โดยอาคารดังกล่าว จะเป็นห้องปฏิบัติการของกลุ่มสาระศิลปะ(ดนตรีไทย ดนตรีสากลและศิลปะ) ห้องปฏิบัติการของกลุ่มสาระการงานอาชีพ และห้องเรียนทั่วไป คาดว่าจะแล้วเสร็จและสามารถเข้าใช้ได้ในปีการศึกษา 2560

เป็นอาคารทรงแปดเหลี่ยมหลังคา2ชั้น สำหรับประดิษฐานหลวงพ่อสวนกุหลาบ เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรด้านหน้าโรงเรียน จึงมีความจำเป็นต้องรื้อถอนหอประดิษฐานพระพุทธรูปหลวงพ่อสวนกุหลาบหลังเดิมออก และทำการย้ายหอประดิษฐานพระพุทธรูปเข้าไปทางทิศตะวันตกอีก 20 เมตร รวมทั้งขยายถนนบริเวณหน้าโรงเรียนให้กว้างขึ้น

เป็นอาคารขนาด 1 ชั้น รูปทรงตัวแอล ใช้เป็นห้องพักนักกีฬาของโรงเรียน เพื่อเก็บตัวฝึกซ้อมโดยเฉพาะกีฬาตะกร้อเป็นที่พักของนักการของโรงเรียน ซึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2554 เกิดวิกฤติมหาอุทกภัยขึ้น ทำให้บ้านพักนักกีฬาได้รับความเสียหายเป็นอย่างมากเนื่องจากตัวอาคารเป็นอาคารผนังไม้ชั้นเดียว อีกทั้งในปีการศึกษา 2556 โรงเรียนได้งบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานีเพื่อก่อสร้างอาคารกิจกรรมและอัฒจรรย์เชียร์กีฬา(อาคารเอนกประสงค์องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี) จึงได้ทำการรื้อถอนเพื่อก่อสร้างอาคารกิจกรรมและอัฒจรรย์เชียร์กีฬาดังเกล่า

ตั้งอยู่บริเวณด้านทิศเหนือของโรงเรียน เป็นอาคารและพื้นที่ปฏิบัติการห้องเรียนมีชีวิตของงานเกษตรกรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพ และเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน ปัจจุบันได้ถูกรื้อถอนแล้ว เพื่อเตรียมการก่อสร้างหอพักนักกีฬาหลังใหม่


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301